บทที่ 2 การพัฒนาบุคลิกภาพ
กระบวนการพัฒนาบุคลิกภาพ ผู้ที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนจะต้องเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ ตนเองก่อนเนื่องจากมนุษย์ทุกคนมักจะมีนิสัยเข้าข้างตนเอง และคิดว่าตนเองดีแล้วไม่มีข้อบกพร้องใดๆ จึง สมควรต้องอาศัยผู้อื่นช่วยดูและวิเคราะห์แนะนํา บุคคลทั่วไปมักมีลักษณะดังนี้
1. คนเรามักไมค่ ่อยได้สํารวจตัวเอง
2. คนเราจะคุ้นเคยกับตนเองและไม่รู้ว่าตนเองและไม่รุูว่ามีดีบ้าง
3. คนเราจะรู้สกวึ ่าตัวเองดีไปหมด
ดังนั้น จึงสมควรที่จะสํารวจหรือวิเคราะห์ตนเองว่าตัวเรานั้นมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร กิริยาท่าทางของ ตนดีหรือบกพร่องอย่างไร โดยเขียนเป็นข้อๆ เรียงตามลําดับความสําคัญแล้วเริ่มต้นปรับปรุงแก้ไขไปทีละข้อ ตามลําดับ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในแต่ละข้อ เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วก็แสดงออกมาใหม่ ปฏิบัติตัว ตามแนวใหม่แล้วทําจนให้เกิดความเคยชินหรือเป็นนิสัย แล้วลองประเมินผลดูว่าสิ่งที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วนั้นดี หรือยัง มีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านั้นอย่างไร หากยังไม่ ดีขึ้นก็จะต้องกลับเข้าสู่ขั้นวิเคราะห์ตนเองใหม่ซ้ําอีก หรือหากเป็นที่พอใจแล้ว ก็นําปัญหาถัดไปมาวิเคราะห์ แก้ไขต่อไป
การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)
1. การพัฒนา คือ วิธีการอย่างหนึ่งที่ทําให้มนุษย์มีการดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข (Good life) โดย จะต้องมีการจัดหาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพมาปรับปรุงสภาพทางวัตถุที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เพื่อให้มีอิสระจากการอยู่ใต้อํานาจของธรรมชาติความขาดแคลน หรือสิ่งอื่นใดที่กดดันให้ชีวิตขาดเกียติยศ และชื่อเสียง
2. การพัฒนา คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ที่มีการนําเอาความคิดใหม่ (Innovation) เข้ามาในระบบสังคม ซึ่งจะทําให้ชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ต่อหัวของบุคคลสูงขึ้นอันเนื่องมาจาก ใช้วิธีการผลิตที่ทันสมัย และจัดระบบของสังคมให้ดีขึ้น
3. การพัฒนา คือ กระบวนการที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการจัดสรรทรัพยากรของสังคม เพื่อ การเปลี่ยนแปลงที่จะทําให้บรรลุเป้าหมายที่สังคมนั้นได้เลือกสรรแล้ว ด้วยการควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ คือ การเปลี่ยนแปลงให้บุคลิกภาพดีขึ้น และดํารงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข มี ความมั่นใจในตนเอง มีพลังในการทํางาน เกิดเป็นกระบวนการที่ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงใทางที่ดีขี้น และมี ทัศนคติที่ดีขึ้น
1. ตระหนักในความสําคัญของบุคลิกภาพ ตามที่บุคลิกภาพเป็นสิ่งจําเป็นและสําคัญต่ออาชีพและ อนาคต จึงมีการตื่นตัวในการพัฒนาบุคลิกภาพกันมากขึ้น ดังจะเห็นว่า มีการบรรจุหลักสูตร การพัฒนา บุคลิกภาพให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยเฉพาะงานด้านบริการต่างๆ การจัดตั้งศูนย์หรือสถาบันส่งเสริมการพัฒนา บุคลิกภาพ เช่น ชมรมฝึกพูด การวางตัว การเข้าสมาคม การแสดงอิริยบถในสังคม มีนิตยสารและคอลัมน์ใน นิตยสารกล่าวถึงหัวข้อบุคคลต่างๆ นานา เช่น บุคลิกภาพกับความสําเร็จในการทํางาน สาเหตุของความ ล้มเหลวในชีวิต ฯลฯ และหาทางพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาหาความรู้และนํามาปฏิบัติ
ประเภทของบุคลิกภาพดควรปรับปรุง บุคลิกภาพสามารถปรับปรุงพัฒนาได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลิกภาพในการพูด บุคคลใดที่มีโอกาสพูด ในที่ชุมชนบ่อยๆ จะทําให้บุคคลนั้นสามารถพัฒนาบุคลิกภาพให้ดีขี้นได้บุคคลที่คิดว่าตนเองมีปมด้อย เช่น อ้วน เตี้ย ดํา ผมศีรษะล้าน พูดไม่ชัด จะทําให้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ทําให้ไม่สามารถออกไปพูดต่อหน้า สาธารณชนได้แต่หากคนเหล่านี้ได้พัฒนาตนเอง เพื่อลดปมด้อยของตนเอง โดยฝึกพูดให้เก่ง น่าฟัง สามารถ ตรึงผู้ฟังให้อยู่กับที่ได้ ก็เท่ากับสามารถลดปมด้อยและสร้างปมเด่นให้กับตนเองได้จะทําให้เกิดความมั่นใจใน ตนเองในที่สุด
1. ความสุภาพ หมายถึง การแต่งกายทั้งสีและแบบสุภาพเรียบร้อย เหมาะกับกาลเทศะ
2. ความประณีต หมายถึง เสื้อผ้าที่ตัดเย็บจะมีความประณีตเรียบร้อยเหมาะสมกับรูปร่าง
3. ความสะอาด หมายถึง ความสะอาดของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้กับเสื้อผ้าที่สวมใส่
4. ความประหยัด หมายถึง การใช้เสื้อผ้าที่มีราคาประหยัด แต่สามารถทําให้ผู้สวมใส่ดูด
หลักสําคญในการปรับปรุงการพูด
1. อย่าพูดมากเกินไป
2. ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. ใช้น้ําเสียงที่เหมาะสมและน่าฟัง
4. ใช้กิริยาที่เหมาะสม ว่างสีหนาและยิ้มแยมแจ่มใส
การปรบปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน บุคลิกภาพภายในคือสิ่งที่มองไม่เห็นและสัมผัสยาก จึงจําเป็นต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยการอยู่ ร่วมกัน ทํางานร่วมกัน คบค้าสมาคมกันไปนานๆ แล้วบุคลิกภาพภายในจึงจะค่อยๆ แสดงออกมาหาก บุคลิกภาพภายในไม่ดีเป็นเรื่องที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงยาก และต้องใช้เวลานาน บุคลิกภาพภายในได้แก่
1. ความกระตือรือร้น คือความพยายามในการที่จะทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง มีความตั้งใจและ สนใจอย่างมากเพื่อให้ประสบความสําเร็จซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว และกระตือรือร้นในการทำงาน
2. ความซื่อสัตย์การที่จะทําให้เราได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อถือจากลูกค้า เราจะต้องมีความ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าด้วยการแสดงออกถึงความจริงใจ พูดแต่ความจริงกับลูกค้า หรืออาจกล่าวได้ว่ามีความซื่อสัตย์ ทั้งกายและใจ
3. ความสุภาพ บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านกิริยามารยาท จะเป็นผู้มีวัฒนธรรมดีมีความสุภาพ นุ่มนวล ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว เยาะเย้ย หรือนินทาว่าร้ายผู้อื่น
4. ความแนบเนียน คือ การปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ ในเรื่องการพูด การกระทํา และ เหมาะกับเวลา จะช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นการขจัดความตึงเครียดในการพูดคุยกับลูกค้า
5. ความสนใจอย่างแท้จริงต่อลูกค้า เราจะปฏิบัติตนอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าได้ รับความ สนใจ ซึ่งที่สําคัญคือ มีความเป็นกันเองเรียกชื่อลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ตั้งใจฟังเมื่อลูกค้าพูด หลีกเลี่ยงการ ถกเถียง พูดคุยในเรื่องที่ลูกค้าสนใจ สร้างความรู้สึกว่าเรายินดีที่ได้พบลูกค้า และขอบคุณที่ลูกค้าซื้อสินค้าเรา
6. การยับยั้งชั่งใจเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้สามารถระงับอารมณ์และมีจิตใจสงบพร้อมที่จะเผชิญ กับสถานการณ์ต่างๆ ได้รวมถึงทําให้เป็นผู้มีความอดทน อดกลั้น และสามารถยับยั้งชั่งใจได้
7. ความจริงใจ ความจริงใจมีส่วนช่วยให้ทํางานได้ประสบความสําเร็จ ผู้ที่ติดต่อกับเราจะเกิดความ ไว้วางใจ ความเชื่อถือในตัวเราเมื่อได้เห็นความจริงใจ ความสนใจในปัญหาต่างๆ ด้วยความจริงใจ ซึ่งจะ ก่อให้เกิดความร่วมมือความเป็นมิตร และส่งผลให้เรามีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
8. จินตนาการ คือความสามารถในการใช้ประโยชน์พัฒนาหรือสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อใช้ใน การปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถค้นหาความต้องการของผู้อื่นหรือลูกค้า เพื่อให้สามารถสนองความต้องการ ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
การพัฒนาบุคลิกภาพ ควรพัฒนาด้านต่างๆ ต่อไปนี้
1. การพัฒนาด้านร่างกาย รูปร่าง ท่าทาง การพูด การเดิน การวางตนเหมาะสม อันเกิดจากการแสดง พฤติกรรมต่างๆ ออกมาให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง เหมาะสมในทุกๆ โอกาส ทุกๆ สถานที่ มีการจัดการกับ ตัวเองให้เข้าใจสถานการณ์ต่างๆ ได้ถูกต้อง
2. การพัฒนาด้านสติปัญญา สามารถทดสอบด้านสตปิัญญาโดยใช้แบบทดสอบ
3. การพัฒนาด้านอารมณ์มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องพัฒนาอารมณ์ของตนเอง ให้มั่นคง และรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เพราะคนเราจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางอารมณ์ชัดเจน เช่น อารมณ์ดีอารมณ์ร้าย อารมณ์ขัน
4. การพัฒนาความสนใจ สามารถใช้แบบทดสอบความสนใจวัดได้
5. การพัฒนาด้านกําลังใจ เริ่มจากวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ทําได้โดย
5.1 การอบรมในทางที่ถูกต้อง
5.2 ให้มีความรอบรู้และมีความพอใจในสิ่งที่จะทํา
5.3 ให้รู้จักค่าของเวลา
5.4 ให้มีความเข้าใจในเรื่องอุปสรรค และความผิดพลาด
6. การพัฒนาด้านอุปนิสัย อุปนิสัยที่สังคมยอมรับ ได้แก่ ความอดทน สุขุม สงบเสงี่ยม เรียกร้อง ความเสียสละ ความมีน้ําใจ ความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น
7. การพัฒนากับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์แปลกๆ ช่วยให้บุคคล เอาชนะความยากลําบากในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ทําให้สามารถเปลี่ยนแปลงการดําเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย
วิธีพัฒนาบุคลิกภาพ
นักจิตวิทยา โรเจอร์ส มีแนวคิดว่าผู้มีบุคลิกภาพไม่พึงปรารถนา เช่น มองโลกในแง่ร้าย เคียดแค้น สังคม โยนความผิดให้ผู้อื่น วิตกกังวลสูง มีปมด้อย เหยียดหยามผู้อื่น เป็นเพราะบุคคลนั้นมีความสอดคล้อง กันระหว่างความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองกับสภาพความเป็นจริง โดยการประเมินตนเองสูงเกินไป (Overestimate) หรือต่ําเกินไป (Underestimate) ดังนั้น การช่วยให้คนรู้จักตนเองเป็นความพร้อมที่จะ ปรับปรุงและมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้มีบุคลิกภาพที่พึงปราถนา
การวางโครงการเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
แม้ว่าบุคลิกภาพจะถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าเรามีความมั่นใจจะปรับปรุงและพัฒนา บุคลิกภาพก็สามารถทําได้ตามขั้นตอนของโครงการพัฒนาต่อไปนี้
1. ตระหนักในความสําคัญของบุคลิกภาพ
2. ประเมินบุคลิกภาพของตนทั้งด้านดีและด้านที่ยังบกพร่อง
3. มุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาบุคลิกภาพของตนอย่างจริงจังและถูกวิธี
2. การประเมินบุคลิกภาพของตนเอง ก่อนการพัฒนาบุคลิกภาพต้องประเมินบุคลิกภาพของตนเอง ก่อน โดยประเมินข้อดีข้อเสียของตนเอง การประเมินตนเองเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่ค่อยจะยอมรับว่าเรา บกพร่องเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนมากมักจะคิดว่าตัวเองถูก ตัวเองดีตัวเองเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องยาก เว้นแต่เราต้องเปลี่ยนแปลงความรู้สึกนึกคิดเสียใหม่โดยพิจารณาถึงหลักความจริงว่า “สี่ เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ตัวเราก็ต้องมีบ้างที่ทําอะไรไม่ถูกต้อง และรับฟังคําวิจารณ์จากผู้ใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง เพื่อน แล้วคงส่วนดีไว้แก้ไขส่วนที่ยังบกพร่องเสีย
3. ความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพอย่างจริงจังและถูกวิธีเมื่อได้ตระหนักความสําคัญของ บุคลิกภาพและได้ประเมินข้อดีข้อเสียของตนเองแล้ว จะต้องศึกษาวิธีปรับปรุงข้อบกพร่องด้วยวิธีที่มี ประสิทธิภาพ ด้วยความมุ่งมั่นจริงจัง และสม่ําเสมอในเรื่องต่อไปนี้คือ
3.1 การปรับปรุงท่วงท่า(Appearance)
3.2 การเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง(Self confidence)
3.3 การปรับปรุงมนุษย์สัมพันธ์(Human Relationship)
3.4 การเสริมสร้างความคิดอย่างมีเหตุผล ความคิดริเริ่ม และการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ (Reasoning Thinking, Creative Thinking, and Problem Solving)
บุคลิกภาพเป็นสมบัติเฉพาะตัว ยังไม่มีใครมีบุคลิกภาพเหมือนกันทุกประการ บุคลิกภาพที่ดีที่สุดไม่มี มีแต่ว่าจะทําให้บุคลิกภาพดีขึ้นได้อย่างไร
บุคลิกภาพของบุคคล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคลิกภาพภายนอก เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ได้แก่ รูปร่าง หน้าตาที่ การแต่งกาย การพูด การวางตัว
2. บุคลิกภาพภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่สามารถสัมผัสและรู้ได้ด้วยการติดต่อสื่อสาร การคบหา ซึ่งกันและกันจะทําให้สามารถรู้ได้ว่าแต่ละคนมีบุคลิกภาพภายในอย่างไร เช่น เป็นคนขยัน อดทน เข้มแข็ง ความกล้า ความกลัว การพัฒนาบคลุ ิกภาพภายนอก การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก เป็นสิ่งที่สามารถทําได้ง่าย ใช้เวลาไม่มากนักก็สามารถ เห็นผลได้หาก ผู้ปฏิบัติมีความตั้งใจจริง ซึ่งจะต้องพัฒนาในสิ่งต่อไปนี้ 1. การปรับปรุงรูปร่างหน้าตา การปรับปรุงรูปร่างหน้าตาเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจครั้งแรกแก่ผู้พบเห็น จึงต้องยึดหลัก สําคัญดังนี้
- สุขภาพ ผู้มีสุขภาพดีจะทําให้หน้าตาสดชื่น เบิกบาน แจ่มใส ร่าเริงอยู่เสมอ
- ความสะอาด ผู้ที่รักษาความสะอาดให้หน้าและร่างกายอย่างสม่ําเสมอจะทําให้ดูสดใสน่า ประทับใจ
- การยิ้ม คนที่มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสจะแสดงออกถึงความเป็นคนอารมณ์ดี
2. การพัฒนาการแต่งกาย การแต่งกายดีสร้างศักดิ์ศรีและความสง่าให้กับตนเอง การแต่งกายดีคือ การรู้จักการใช้เสื้อผ้าที่สะอาด ตัดเย็บด้วยความประณีตเรียบร้อย ไม่จําเป็นต้องเป็นเสื้อผ้าที่มีราคาแพง รีดให้ เรียบ ควรเลือกใช้สีให้เข้าชุดกันเป็นแบบนิยม ขนาดพอเหมาะกับรูปร่าง เสื้อผ้าที่จะสวมใส่ควรดูเรียบร้อยและ สมบูรณ์ถุงเท้าต้องตึงอยู่เสมอ รองเท้าต้องขัดให้มันอยู่เสมอ
การแต่งกายสามารถช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของคนเราได้เพราะสามารถช่วยปกปิดข้อบกพร่องของ ร่างกาย และช่วยเสริมจุดเด่นของรูปร่าง หน้าตาที่ให้ดูดี
หลักการแต่งกายดีที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ 4 ประการ
2. ความประณีต หมายถึง เสื้อผ้าที่ตัดเย็บจะมีความประณีตเรียบร้อยเหมาะสมกับรูปร่าง
3. ความสะอาด หมายถึง ความสะอาดของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้กับเสื้อผ้าที่สวมใส่
4. ความประหยัด หมายถึง การใช้เสื้อผ้าที่มีราคาประหยัด แต่สามารถทําให้ผู้สวมใส่ดูด
3. การปรับปรุงกิริยาท่าทาง กิริยาท่าทางเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น หรือทําให้เกิดความศรัทธาและความเชื่อถือ และสําหรับตัวบุคคลเองหากเป็นผู้ที่มีกิริยาท่าทางดีก็จะเกิดความ มั่นใจในตนเอง และสามารถทํางานหรือทําสิ่งใด ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นกิริยาท่าทางที่ไม่ควรปฏิบัติ ได้แก่ เท้าคาง กระดิกเท้า เกาศีรษะ แกะแคะจมูก หรือล้วงกระเป๋า ยืนโยกตัว กลอกกลิ้งสายตาอยู่ตลอดเวลา กิริยาท่าทางเหล่านี้ทําให้บุคลิกภาพเสียไป และเป็นกิริยา ที่ซ้ําซากโดยไม่รู้ตัว และอาจทําให้ผู้ที่พบเห็นเกิด ความรําคาญและเกิดความรู้สึกในทางลบได้
ดังนั้นบุคคลจึงต้องพัฒนาบุคลิกภาพที่เกี่ยวกับร่างกายโดยดูแลรักษารูปร่างให้อยู่ในเกณฑ์ ที่ เหมาะสม รู้จักควบคุมน้ําหนักของตนเอง ให้เหมาะสมกับส่วนสูง โครงสร้างของร่างกายเป็นสิ่งที่มี ความสัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลิกภาพ ตลอดจนรับประทานอาหารดีมีการออกกําลังกายที่ถูกต้องเพื่อให้ ร่างกายมีสุขภาพดีผู้มีสุขภาพดีย่อมจะมีกิริยาท่าทางการยืน การเดิน การนั่งที่สง่างาม ศีรษะตั้งตรง ไหล่ตรง หลังตรง พุงไม่ยื่น การมีท่าทางที่สง่างามจะทําให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชม และน่าสนใจ
การปรับปรุงในเรื่องการติดต่อสื่อสาร(Communication)
บุคคลที่ประสบความสําเร็จจะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร การที่จะชักจูงให้ผู้อื่นยอมรับและ คล้อยตาม จะต้องสื่อสารให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ในการสื่อสารนั้น การติดต่อสื่อสารส่วนใหญ่จะใช้วิธีการพูด ดังนั้น เราจะต้องเป็นผู้พูดที่ดีและในขณะเดียวกันก็ต้อง เป็นผู้ฟังที่ดี ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถามคําถามและแสดงปฏิกิริยาทางคําพดเพ ู ื่อโต้ตอบเรา ในระหว่างการสนทนาในขณะที่คู่สนทนาพูด เราจะต้องฟังด้วยความสนใจการฟังจึงมีความสําคัญเท่า ๆ กับ การพูด
การปรับปรุงการพูด โดยปกติคนทุกคนจะต้องมีการติดต่อสื่อสาร จะต้องพูดให้ผู้ฟังเข้าใจในจุดมุ่งหมายในการพูดของเรา และให้ผู้ฟังเห็นจริง ผู้พูดจึงจําเป็นต้องพูดให้ชัดเจน แจ่มแจ้ง และเกิดความคิดเห็นคล้อยตามในที่สุด และ นอกจากนี้อาจจะต้องมีกิริยาท่าทาง การวางสีหน้า การแสดงออกที่เหมาะสม และมองผู้ฟังในขณะที่พูด จะ สามารถเรียกความสนใจและความร่วมมือจากผู้ฟังได้เป็นอย่างดีการยิ้มอาจทดแทนคําพูดได้หลายคํา จึงควร หัดยิ้มให้เกิดความเคยชิน ยิ้มเป็นเวลาในจังหวะที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง ทําให้เกิดความรู้สึกใน ทางบวก
หลักสําคญในการปรับปรุงการพูด
1. อย่าพูดมากเกินไป
2. ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
3. ใช้น้ําเสียงที่เหมาะสมและน่าฟัง
4. ใช้กิริยาที่เหมาะสม ว่างสีหนาและยิ้มแยมแจ่มใส
การปรบปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน บุคลิกภาพภายในคือสิ่งที่มองไม่เห็นและสัมผัสยาก จึงจําเป็นต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยการอยู่ ร่วมกัน ทํางานร่วมกัน คบค้าสมาคมกันไปนานๆ แล้วบุคลิกภาพภายในจึงจะค่อยๆ แสดงออกมาหาก บุคลิกภาพภายในไม่ดีเป็นเรื่องที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงยาก และต้องใช้เวลานาน บุคลิกภาพภายในได้แก่
1. ความกระตือรือร้น คือความพยายามในการที่จะทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง มีความตั้งใจและ สนใจอย่างมากเพื่อให้ประสบความสําเร็จซึ่งจะส่งผลทําให้เกิดความคล่องแคล่วว่องไว และกระตือรือร้นในการทำงาน
2. ความซื่อสัตย์การที่จะทําให้เราได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อถือจากลูกค้า เราจะต้องมีความ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้าด้วยการแสดงออกถึงความจริงใจ พูดแต่ความจริงกับลูกค้า หรืออาจกล่าวได้ว่ามีความซื่อสัตย์ ทั้งกายและใจ
3. ความสุภาพ บุคคลที่ได้รับการฝึกอบรมด้านกิริยามารยาท จะเป็นผู้มีวัฒนธรรมดีมีความสุภาพ นุ่มนวล ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว เยาะเย้ย หรือนินทาว่าร้ายผู้อื่น
4. ความแนบเนียน คือ การปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ ในเรื่องการพูด การกระทํา และ เหมาะกับเวลา จะช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นการขจัดความตึงเครียดในการพูดคุยกับลูกค้า
5. ความสนใจอย่างแท้จริงต่อลูกค้า เราจะปฏิบัติตนอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าได้ รับความ สนใจ ซึ่งที่สําคัญคือ มีความเป็นกันเองเรียกชื่อลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ตั้งใจฟังเมื่อลูกค้าพูด หลีกเลี่ยงการ ถกเถียง พูดคุยในเรื่องที่ลูกค้าสนใจ สร้างความรู้สึกว่าเรายินดีที่ได้พบลูกค้า และขอบคุณที่ลูกค้าซื้อสินค้าเรา
6. การยับยั้งชั่งใจเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้สามารถระงับอารมณ์และมีจิตใจสงบพร้อมที่จะเผชิญ กับสถานการณ์ต่างๆ ได้รวมถึงทําให้เป็นผู้มีความอดทน อดกลั้น และสามารถยับยั้งชั่งใจได้
7. ความจริงใจ ความจริงใจมีส่วนช่วยให้ทํางานได้ประสบความสําเร็จ ผู้ที่ติดต่อกับเราจะเกิดความ ไว้วางใจ ความเชื่อถือในตัวเราเมื่อได้เห็นความจริงใจ ความสนใจในปัญหาต่างๆ ด้วยความจริงใจ ซึ่งจะ ก่อให้เกิดความร่วมมือความเป็นมิตร และส่งผลให้เรามีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
8. จินตนาการ คือความสามารถในการใช้ประโยชน์พัฒนาหรือสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อใช้ใน การปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถค้นหาความต้องการของผู้อื่นหรือลูกค้า เพื่อให้สามารถสนองความต้องการ ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น