บทที่ 8 มนุษยสัมพันธ์
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์ อยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มเป็นพวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย ซึ่งเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า การที่มนุษย์มีสัมพันธ์กัน มนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคม ดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคม ระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2525 : 402 )ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันมนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะ หรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสารกัน ระหว่างบุคคล ระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคล หรือกลุ่มรวมไปถึง วิธีการจูงใจ และประสานความต้องการ ของบุคคล และกลุ่มให้ผสมผสานกลมกลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหา เพื่อทำความเข้าใจ โดยการใช้ลักษณะรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคลเป็นผล ก่อให้เกิดความเชื่อมโยง เพื่อให้ได้ผลสำเร็จ ตามเป้าหมายขององค์การ ของแต่ละบุคคล ที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจ ในทางเศรษฐกิจ และสังคม มนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์เพื่อใช้ใน การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี กับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดี ในการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคล ต่อบุคคล ตลอดจนองค์กรต่อองค์กรDavid, Keith.1977
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์ และศิลป์ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคล เพื่อต้องการให้ได้มาซึ่ง ความร่วมมือ ช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดี และให้ความ ร่วมมือร่วมใจ ทำงานด้วยความเต็มใจมนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คน และกลุ่มคน มาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงานเรื่องส่วนตัวจน สามารถ ทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจเพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยการทำงาน เพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วย ความเต็มใจ เต็มความสามารถ
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจ ให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอใจในงาน และความสามารถ ทำงาน ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้
มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรม ให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจ ในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่ง พึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข
การสร้างมนุษย์สัมพันธ์
เทคนิคการสร้างมุนษย์สัมพันธ์
ความกล้า : ความกล้าในที่นี้ หมายถึงความกล้าในการที่จะทำจิตใจของเราให้กล้าเข้าไปทักทายผู้อื่นก่อน ปัญหาส่วนใหญ่ของคนเราก็คือ ความไม่กล้าที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นก่อน หรือ เรียกว่า ขี้อาย นั่นเอง อาการขัดเขิน เริ่มต้นไม่ถูก เป็นปัญหาที่ทำให้เราพลาดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น และ ความกลัวเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราไม่กล้าที่จะทำอะไร และ ในที่สุด ก็จะเป็นการยากที่เข้ากับผู้อื่นได้
ยิ้ม ในการสร้างมิตรภาพนั้น หลักที่สำคัญก็คือ อย่าแสดงอาการ หรือ ความต้องการในการสร้างมิตรภาพออกมามากเกินไป เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณแสดงออกถึง ความปรารถนา หรือ ความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นในเรื่องนี้ มันจะเกิดผล ลบ กับตัวของคุณเอง นั่นคือ บุคคลอื่นจะหนี ดังนั้น การสร้างมิตรภาพ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดี และ ความพึงพอใจของเราและบุคคลอื่น ไม่จำเป็นต้องบอกตนเองว่า เราต้องเป็นที่รู้จักของทุกคน หรือ ทุกคนต้องรู้จักเรา
เป็นผู้ให้ก่อน หมายถึงว่า ไม่จำเป็นที่ต้องรอให้ใครทำอะไรให้เราก่อนที่เราจะทำอะไรให้ใคร นั่นหมายถึงว่า ในการสร้างมิตร หรือ มนุษย์สัมพันธ์ ไม่มีกฎเกณฑ์ ว่า คุณจะต้องรอให้ใครสักคนมาทักคุณก่อน หรือ เข้ามาไหว้ คุณก่อน เพื่อแสดงถึงว่า คุณเป็นที่ยอมรับ เป็นที่รู้จัก ถ้าคุณรู้จักใคร และ สังเกตเห็นเขาก่อน คุณสามารถเดินเข้าไปไหว้ และ ทักก่อนได้เสมอ จำไว้เสมอ เราไม่จำเป็นต้องรอให้ใครให้อะไรเราก่อน แล้วเราค่อยตอบแทน เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง เราทุกคน ชอบที่จะเป็นผู้รับ ดังนั้น จงเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ก่อนเสมอ และ คุณจะเป็นที่ชื่นชอบได้โดยง่าย
ความจำ เรื่องนี้เป็นความสำคัญอย่างยิ่ง คุณควรฝึกความจำให้ดีในเรื่องชื่อของคนแต่ละคน อย่าจำชื่อผิดโดยเด็ดขาด คิดดูสิคะ ถ้ามีใครสักคน เดินตรงดิ่ง พร้อมรอยยิ้มที่ดูคุ้นเคย เดินเข้ามาทักคุณ พร้อมกับถามว่า “สบายดีไหม” คุณย่อมรู้สึกดีมากๆ
การฟัง การฟังไม่ใช่ การพูด เพราะชอบเข้าใจผิดกันเสมอว่า คนที่เข้าสังคมเก่งคือคนที่คุยเก่ง จริงๆแล้วไม่ใช่เลย คนที่มีเสน่ห์มากที่สุด ก็คือ คนที่ฟังเก่ง มากกว่า คนพูดเก่ง สังเกตที่ตัวเราก็ได้คะ ถ้าเราได้พบท่านผู้หนึ่ง ที่เอาแต่พูด และ พูด พูดแต่เรื่องของตนเอง แน่นอน มันคงเป็นเรื่องที่น่าเบื่อที่เราจะต้องนั่งฟัง ไปเรื่อย ๆ ตามมารยาท หรือ บางครั้ง เราไม่ทราบเรื่องมาก่อนเพราะเพิ่งได้รู้จักครั้งแรก ยิ่งทำให้เราอึดอัด แต่ถ้าเปลี่ยนไป พบกับอีกท่านหนึ่ง ที่ซักถามเก่ง ถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรา ถามในเรื่องที่เราทำ ถามโน่นถามนี้ที่เป็นโอกาสให้เราได้พูด ได้เล่า คุณว่า ท่านใด จะทำให้คุณรู้สึกดีกว่ากัน
การพูด เพราะการฟังสำคัญที่จะทำให้คนอื่นชอบเรา แต่การพูดก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน เพราะถ้าเราไม่พูดเสียเลยก็คงไม่ได้ ดังนั้น เราเองต้องเป็นผู้ที่พูดเป็น นั่นคือ อย่าพูดในเรื่องเศร้า อย่าพูดแต่เรื่องของตนเองโดยไม่มีใครซักถาม อย่าพูดเชิงสั่งสอนหรือเทศนา อย่าพูดจากที่เป็นเชิงกระทบกระเทียบใคร อย่าพูดนานเกินไปจนไม่รู้จบ ไม่ให้โอกาสคนอื่นได้พูด พยายามพูดให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมในการพูดร่วมกับเรา
มั่นใจ หรือ ความมั่นใจ ก็คือ การไว้ใจตนเอง รักตนเอง แต่ไม่ได้หลงตนเอง การแสดงออกถึงความมั่นใจ เป็นการแสดงออกบนพื้นฐานของความพอดี และ อารมณ์ที่เปิดรับความคิดเห็น สิ่งต่างๆ ได้โดยไม่รู้สึกเป็นภาระ หรือ วิตกกังวล ความหลงตนเอง คือ การคิดว่า ตนเองต้องดีเลิศ ใครว่าไม่ดีไม่ได้ ใครแสดงอะไรที่คิดว่าจะกระทบกับเราไม่ได้ ดังนั้นจะเป็นอารมณ์ในการปิดกั้น และ บังคับผู้อื่น นะคะ ถ้าอยากเป็นคนมั่นใจ นั่นก็คือ การพัฒนาด้านการแสดงออก การเดิน การพูด ให้อยู่ในรูปแบบของเรา และ เป็นรูปแบบของความสุภาพเรียบร้อย ยิ้มง่าย ไม่ขี้โมโห ไม่วิตกกังวลกับคำพูดเล็กๆน้อย
ชนะใจ อันนี้เป็นเคล็ดลับในการสร้างมิตรภาพในระยะยาว การชนะใจก็คือการใช้ข้อทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ผู้สนทนากับเรา รู้สึกเป็นมิตร และ อยากพูดกับเรามากขึ้น รวมถึง ความรู้สึกไว้วางใจ ในการพูดในสิ่งที่คิดได้อย่างอิสรเสรี โดยไม่ต้องวิตกกังวล นั่นคือ เราต้องเป็นคนที่รู้จัก ยกย่องผู้อื่นในจุดที่ยกย่องได้ ไม่เป็นคนคุยข่ม หรือ พูดขัดคอใคร ในเรื่องที่เขากำลังสนทนา เป็นคนที่รับฟังและให้คำเสนอแนะในกรณีมีคนต้องการ และ เป็นคำเสนอแนะในลักษณะที่เป็นบวก
ขอบคุณ เป็นคำที่เราไม่สามารถลืมได้เลย จงเรียนรู้ที่จะพูดคำว่า “ขอบคุณ” ในกรณีที่มีคนทำอะไรให้แก่คุณ แม้นว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ตาม และควรเป็นการพูดที่ตั้งใจและจริงใจด้วยคะ เพราะการพูดขอบคุณแบบตั้งใจ จะทำให้ผู้ฟัง รวมถึง ผู้ได้รับคำขอบคุณ ตระหนักได้ถึงน้ำเสียงและกริยาอาการของคุณ ว่าจริงใจและตั้งใจในการกล่าวนั้น แต่ถ้าคุณพูดแค่เป็นพิธีการ น้ำเสียงและกริยาของคุณจะไม่แสดงออกถึงความโดดเด่น และ มันก็มีค่าเหมือนกับ ไม่ได้พูดอะไรเลย
ข้อควรระวังในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์
1.ระวังการแสดงสีหน้า ท่าทาง บุคลิกภาพ
2. การโต้แย้ง การโต้เถียงเพื่อเอาชนะ
3.การตำหนิติเตียนผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง
4.การพูดโอ้อวด ยกตนข่มท่าน
5.การพูดเพ้อเจ้อ นินทาว่าร้าย
6.การไม่สนใจฟังผู้อื่น
7.การแสดงความอิจฉา
8.การแสดงความอยากได้ ใจแคบ
9.เห็นแก่ตัว มากกว่าส่วนรวม
10.ความโมโหฉุนเฉียว
11.การเลือกที่รักมักที่ชัง
12.การแสดงอำนาจเหนือผู้อื่น
13. การไม่รักษาคำพูด
14.ชอบโยนความผิดให้ผู้อื่น
15.จู้จี้ จุกจิกเกินไป
16.ลืมนึกถึงความสำคัญของผู้อื่น
17. มีอคติลำเอียงต่อผู้อื่น
3.การตำหนิติเตียนผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง
4.การพูดโอ้อวด ยกตนข่มท่าน
5.การพูดเพ้อเจ้อ นินทาว่าร้าย
6.การไม่สนใจฟังผู้อื่น
7.การแสดงความอิจฉา
8.การแสดงความอยากได้ ใจแคบ
9.เห็นแก่ตัว มากกว่าส่วนรวม
10.ความโมโหฉุนเฉียว
11.การเลือกที่รักมักที่ชัง
12.การแสดงอำนาจเหนือผู้อื่น
13. การไม่รักษาคำพูด
14.ชอบโยนความผิดให้ผู้อื่น
15.จู้จี้ จุกจิกเกินไป
16.ลืมนึกถึงความสำคัญของผู้อื่น
17. มีอคติลำเอียงต่อผู้อื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น